“มหาตมะ คานธี” นักต่อสู่เสรีภาพแห่งประเทศอินเดีย

 

หากจะกล่าวถึงนักต่อสู้เพื่อเสรีภาพในโลกใบนี้มีมากมายหลายท่าน ที่สร้างคุณประโยชน์และทำเพื่อมวลชนอย่างแท้จริง แต่ถ้าจะให้นึกถึงใครเป็นอันดับต้นๆคงต้องยกให้ “มหาตมะ คานธี” ผู้โด่งดังที่ยอมพลีชีพเพื่อความถูกต้องแด่ชาวอินเดียอย่างแท้จริง

“ มหาตมะ คานธี” หรือ โมฮันดาส เค. คานธี เกิดวันที่ 2 ตุลาคม 1869 ในวรรณะแพศย์ ณ.เมืองโพรบันดาร์ รัฐคุชราต บิดาเป็นนักการเมือง ส่วนมารดาเป็นผู้หญิงที่เคร่งศาสนา พอคานธีอายุได้ 13 ปีก็แต่งงานตามประเพณีกับ “กัสตรูพา” และเมื่ออายุครบ 18 ปี ทางบ้านก็ส่งคานธีไปศึกษาที่ประเทศอังกฤษในวิชากฎหมาย

ซึ่งการใช้ชีวิตอยู่ที่นั้นคานธีต้องพบเจออุปสรรคมากมายทั้งเรื่องการกินอยู่ วัฒนธรรม และปัญหาการเหยียดสีผิว แต่ก็ไม่ได้ทำให้คานธีย่อท้อเพราะสุดท้ายเขาก็ได้เรียนจบเนติบัณฑิตตามความตั้งใจและเริ่มอาชีพทนายความอย่างไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

จุดพลิกผันที่ทำให้คานธีลุกขึ้นมาต่อสู้เพื่อเสรีภาพก็เมื่อคานธีได้โดยสารรถไฟชั้น First Class เพื่อไปแอฟริกาใต้ แต่กลับถูกคนผิวขาวรวมหัวกันขับไล่ให้คานธีไปนั่งในชั้นราคาถูกเพียงเพราะสีผิวที่แตกต่าง ทีแรกคานธีก็ไม่สนใจเขามองเป็นเรื่องที่ไร้สาระ ผลกลายเป็นว่าเจ้าหน้าที่ของรถไฟได้โยนคานธีออกจากรถ พร้อมตะโกนไล่ว่า “รถไฟชั้นหรูมีไว้บริการคนผิวขาวเท่านั้น” นอกจากนั้นเขายังพบว่าคนผิวสีล้วนถูกเหยียดให้เป็นคนต่ำต้อย จากเหตุนี้เขาจึงตัดสินใจเข้าร่วมรณรงค์ เรื่องสิทธิมนุษยชนในแอฟริกาใต้ถึง 6 ปี แต่ก็ไม่เป็นผล

คานธีเลยเปลี่ยนมาใช้วิธี “สัตยาเคราะห์” หรือคือวิธี “ดื้อเงียบ” ด้วยการไม่ใช่ความรุนแรง แต่ใช้การไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ปฎิบัติตามกฎใดๆที่มองแล้วว่าไม่เป็นธรรม ยังกดขี่ข่มเหงมนุษย์ด้วยกัน ซึ่งเมื่อเขากลับมายังบ้านเกิด เขาก็พยายามที่จะออกเดินสายไปทั่วประเทศอินเดียเพื่อเรียกร้องให้ชาวอินเดียได้ตระหนักถึงสิทธิเสรีภาพของตนเองให้มากกว่านี้ในฐานะของความเป็นมนุษย์เช่นเดียวกัน นอกจากนั้นเขายังเรียกร้องความสมานฉันท์กันระหว่างฮินดูกับชาวมุสลิมให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

จนเมื่อเข้าสู่ยามเย็นของวันที่ 30 มกราคม ค.ศ.1948 ในช่วงที่คานธีกำลังสวดมนต์ไหว้พระอยู่กลางลาน ก็ได้มีนายนาถูราม โคทเส ชาวฮินดูต่อต้านการสมานฉันท์ระหว่างฮินดูกับมุสลิมยิงปืนใส่คานธี เข้าที่หน้าอกและท้อง  3 นัด จนคานธีล้มลงพร้อมพนมมือด้วยความสงบ คำสุดท้ายที่เปล่งออกมาคือคำว่า “ราม” หลังจากนั้นคานธีก็ถึงกับอนิจกรรมอย่างสงบในวัย 78 ปี มหากวีเอกชาวอินเดียได้ให้สมญานามคานธีว่า “มหาตมะ คานธ” มีความหมายว่า       “ ผู้มีจิตใจสูงส่ง”