การอยู่ร่วมกันของมนุษย์นั้นย่อมต้องมีเรื่องราวเกิดขึ้นมากมาย เพราะฉะนั้นจึงได้เกิดเป็น เสรีภาพทางสังคม ขึ้นมา เพื่อเป็นแบบแผนในการปฏิบัติ เข้าใจไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากมนุษย์เป็นสัตว์สังคม นอกจากกฎหมาย ความเชื่อ และบรรทัดฐานแล้ว เสรีภาพเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์มาตั้งแต่แรก และยังเป็นหลักการสำคัญที่ปกครอง สร้างความเสมอภาคกันของคนในสังคมนั่นเอง
แนวคิดเรื่อง เสรีภาพของมนุษย์ มีที่มาอย่างไร
แนวคิดเรื่อง เสรีภาพ ปรากฏขึ้นตั้งแต่ในยุคกรีก โดยถือว่า มนุษย์นั้นมีเสรีภาพอยู่แล้วตามกฎธรรมชาติ ภายใต้เหตุผลที่ถูกต้อง และเมื่อทุกคนมีเสรีภาพเท่าเทียมกัน ก็จะไม่มีอำนาจในการบังคับซึ่งกันและกัน ซึ่งก็การจำกัดความคำว่า เสรีภาพ ในความหมายที่แตกต่างกันไป ดังนี้
– คือความอิสระในการใช้ชีวิต กิน อยู่ ในขอบเขตของกฎหมายและไม่ละเมิดผู้อื่น
– คือความคิดสร้างสรรค์ ปราศจากกรอบ
– คือการพัฒนาทางความคิด แก้ไข สร้างสรรค์ แก้ไขปัญหา จนกลายเป็นวิทยาการใหม่ๆ
– คือความเคารพ กล่าวคือ หากโดนจำกัดสิทธิอะไรบางอย่างก็อาจจะทำให้รักษากฎนั้นได้ยากกว่าเดิม กลับกัน หากได้รับเสรีภาพมาส่วนหนึ่ง ทุกคนก็จะมีความสุข นั่นทำให้เราต้องเคารพกฎนั้นด้วย
– คือหลักประกันของชีวิต ทุกคนสามารถดำเนินชีวิตได้ตามความต้องการ และแนวคิดของตัวเองโดยไม่ผิดกฎหมาย
ทำความเข้าใจ คำจำกัดความของ เสรีภาพหมายถึงอะไร
เสรีภาพ หรือ Liberty คือ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด พรากไม่ได้ แบ่งแยกไม่ได้ เป็นอำนาจอันชอบธรรมที่กฎหมายรับรอง และคุ้มครองแก่บุคคลที่จะกระทำการ หรือไม่กระทำการใดๆ ก็ตามที่ต้องการได้อย่างอิสระ โดยไม่มีใครมาบังคับ และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น ไม่ผิดกฎหมาย หรือผิดศีลธรรม และบุคคลอื่นจำเป็นที่จะต้องเคารพเสรีภาพของบุคคล โดยการไม่ไปรบกวน หรือขัดขวางการใช้เสรีภาพของบุคคลนั้นๆ กล่าวคือเราทุกคนมี เสรีภาพทั้งทางด้านตัวบุคคล และ เสรีภาพทางสังคม นั่นเอง
เราทุกคนมีเสรีภาพทั้งด้านบุคคล และด้านสังคม อย่างไรบ้าง
อย่างที่เราอธิบายไปในข้างต้น ว่าทุกคน มีเสรีภาพที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ซึ่งนั่นก็คือ เสรีภาพทางด้านนบุคคล ซึ่งก็ครอบคลุมทั้งเรื่องของ การเลือกนับถือศาสนาได้ตามความศรัทธา ไม่ขัดต่อศีลธรรม, ได้รับความคุ้มครองในส่วนที่อยู่อาศัย เคหสถาน, มีอิสระในการเดินทาง และเลือกถิ่นที่อยู่, มีความเสมอภาคในการได้รับการศึกษา ที่รัฐจัดให้อย่างทั่วถึง มีคุณภาพ, ประกอบอาชีพได้ภายใต้หลักกฎหมาย แต่ก็ยังมีในส่วนของ เสรีภาพทางสังคม ที่เป็นสิ่งที่แสดงออกได้ ไม่ว่าจะเป็น เสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น พูด เขียน หรือวิธีอื่นๆ โดยที่ไม่ขัดกับความมั่นคง ความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง, เสรีภาพในการรวมตัวกันเป็นองค์กร, เสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ รวมถึง เสรีภาพในการจัดตั้งพรรคการเมือง ตามวิถีการปกครองระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข